โดยปกติแล้ว “หลุมสิว” จะไม่สามารถหายเองได้ เพราะร่องรอยจากการซ่อมแซมตัวเองจากสิว ถ้าลึกถึงหนังแท้การกลับมาสู่ภาวะปกติจะไม่เรียบเนียนเหมือนเดิม และยิ่งปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน
จะดูลึกขึ้นเนื่องจากคอลลาเจนที่ลดลงไปตามอายุ การรักษาหลุมสิวควรรักษาสิวให้หายดีก่อน หรือ สิวลดลงจนเหลือน้อยแล้ว ในปัจจุบันโฆษณา Skincare ช่วยกระชับรูขุมขนมีอยู่ แต่ skincare ไม่สามารถทำให้หลุมสิวหายไปได้ ซึ่ง skincare เหล่านี้เพียงช่วยกระชับรูขุมขนชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นการรักษาหลุมสิวต้องรักษาโดยหัตถการทางการแพทย์เท่านั้น
ในส่วนการหายของแผลเป็นจากสิวอาจเกิดรอยบุ๋มเรียก่า หลุมสิว หรือรอยนูน เรียกว่า แผลเป็นนูน
หลุมสิว คือ ลักษณะรอยแผลเป็นที่บุ๋มลงไป สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. ชนิด Icepick Scar เป็นหลุมลึก ปากแผลแคบ มักมีขนาดไม่เกิน 2 มม. อยู่ในระดับความรุนแรงที่สุด มีการทำลายลึกลงไปถึงชั้นผิวหนังแท้ทำให้คอลลาเจนหายไป หลุมสิวจึงเป็นไปในแนวลึก กว่าผิวจะฟื้นฟูจนเต็มต้องใช้เวลานานในการรักษา
2. ชนิด Boxcar Scar มีลักษณะเป็นบ่อ มีขนาดกว้าง เห็นขอบของหลุมสิวชัดเจน ลึกประมาณ 3-5 มิลลิเมตร มีขนาดใหญ่กว่าหลุมสิวประเภท Ice pick scar อยู่ในระดับความรุนแรงปานกลาง มักพบพังผืด (fibrosis) เกาะติดในชั้นหนังแท้ มีทั้งแผลลึกและแผลตื้น สาเหตุมาจากสิวอักเสบลึก รวมถึงคนที่เป็นโรคอีสุกอีใส
3. ชนิด Rolling Scar จะมีลักษณะเป็นหลุมตื้นแอ่งแค่ช่วงผิวส่วนบนเพียงเล็กน้อย เป็นแอ่งเว้าลงไปไม่ลึก แต่มีพังผืดดึงรั้งโดยรอบ มีความรุนแรงน้อยสุด
แผลเป็นนูน คือ ส่วนลักษณะรอยแผลเป็นที่นูนขึ้นมา
แผลเป็นนูนเป็นภาวะที่เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตมากกว่าปกติโดยจะมีลักษณะนูนและขนาดใหญ่กว่า
รอยแผลที่เกิดขึ้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่า มีปัจจัยจากพันธุกรรม เชื้อชาติ อายุ โดยทั่วไปเมื่อร่างกายเกิดบาดแผลร่างกายจะรักษาบาดแผลหลังร่างกายซ่อมแซม ถ้าแผลขยายขนาดใหญ่และนูนขึ้นกว่ารอยแผลเดิมเรียกว่า Keloid แต่ถ้านูนขนาดเท่าแผลเป็นเดิม เรียกว่า Hypertrophic scar
แผลจากสิวอาจทำให้เกิดแผลบุ๋ม หรือ แผลนูน หากเกิดการบุ๋มเรียกว่าหลุมสิว (Acne scar) หากเกิดแผลนูน เรียกว่า คีลอยด์ (Keloid) หรือ Hypertrophic scar ดังที่กล่าวในข้างต้น เราสามารถรักษาทั้ง 2 ส่วนได้ในครั้งเดียวกันดังนี้
ในการรักษาหลุมสิวให้ดีขึ้นจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันและต้องเลือกวิธีที่เป็นหัวใจหลักเสมอ
ชนิด Rolling Scar จะมีลักษณะเป็นหลุมตื้น สามารถใช้การตัดพังผืดออกเป็นหัวใจหลักโดยการทำวิธีนี้สามารถช่วยให้ตื้นขึ้นได้ดีที่สุด แต่ถ้าต้องการผลลัพท์ที่มากขึ้นควรใช้วิธีเสริมอื่นช่วยด้วย เช่น การฉีดสารฟื้นฟูใต้หลุมสิว ซึ่งใช้ได้ทั้ง PDRN PN และ PRP การใช้สารเติมเต็ม เช่น ฟิลเลอร์ และ ไหมน้ำ (Collagen bistimulator) การใช้ microneedling RF และ laser นอกจากนี้ยังมีการรักษาทางเลือกอื่นที่สามารถใช้ได้คือ การตัดพังผืดด้วยอากาศ
ชนิด Boxcar Scar มีลักษณะเป็นบ่อกว้าง เห็นขอบของหลุมสิวชัดเจน การรักษาหลักทุกอย่างจะเหมือน rolling scar คือ subcision การฉีด PDRN PN และ PRP ารใช้สารเติมเต็ม เช่น ฟิลเลอร์ และ ไหมน้ำ (Collagen bistimulator) การใช้ microneedling RF และ laser แต่เนื่องจากขอบที่ชัดมากเกิดจากการหนาตัวของพังผืดที่มากตรงปากขอบ จึงสามารถใช้วิธีอื่นเสริมได้ คือ การแต้มกรดรักษาหลุมสิว
ชนิด Icepick Scar เป็นหลุมลึก ปากแผลแคบ เป็นหลุมที่รักษายากที่สุด พังผืดจะหนาแน่นมากทั้งปากหลุมและก้นหลุมจึงจำเป็นต้องใช้การแต้มกรดรักษาหลุมสิวเป็นวิธีหลัก ซึ่งเป็นการใช้สารเคมีที่เป็นกรดทาลงบนผิวหนัง เพื่อทำให้เกิดแผลและเป็นแผลที่ควบคุมได้ จากนั้นร่างกายจะมีกระบวนการการซ่อมแซมทำให้เกิดผิวหนังใหม่
ในบางกรณีเมื่อแต้มกรดจนหลุมตื้นขึ้นมาแล้วจะกลายเป็น rolling scar ซึ่งสามารถรักษาด้วยวิธี subcision ต่อไป ในทางตรงข้ามถ้าหลุมจิกลึกมาก การรักษาด้วยการแต้มกรดอาจไม่เพียงพอทำให้หลุมนั้นตื้นขึ้นมา ก็จะเลือกวิธีการตัดเย็บปากหลุม เพื่อทำให้หลุมนั้นตื้นขึ้นมา แต่ทั้งนี้ต้องระวังการเกิดแผลเป็นนูนจากการเย็บ ต้องซักประวัติการมีแผลเป็นนูนหลังการหายของบาดแผลอย่างละเอียด
ในการรักษาแผลนูน รักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์ (steroid) การฉีดจะทำให้แผลนูนเรียบขึ้นได้ โดยยาเข้าไปบรรเทาการอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อ และลดกระบวนการผลิตคอลลาเจนที่มากไปบริเวณเนื้อแผล จำนวนครั้งในการฉีดขึ้นกับขนาดของแผลนูนและการตอบสนองของบุคคลต่อยาสเตียรอยด์
ในกรณีคีลอยด์นั้นมีขนาดใหญ่มากๆ อาจพิจารณาผ่าตัดออกแล้วเย็บแผลใหม่ให้เรียบ หลังแผลหายหากยังหลงเหลือแผลนูนจะเก็บด้วยการฉีดคีลอยด์ภายหลัง พิจารณาเป็นเคสไป