ฝ้ารักษาให้ผลชัดเจน ต้องรู้จักวิธีก่อน

สาเหตุการเกิดฝ้า

ฝ้าเกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังของเราสร้างเม็ดสีหรือเมลานิน (Melanin) มากเกินไป โดยมีรังสี UV ในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า กระ และจุดด่างดำ รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุและเพศ มักเริ่มพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30 – 40 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สีผิว ผู้ที่มีผิวเข้มจะมีโอกาสเกิดฝ้าได้ง่ายกว่าผู้ที่มีผิวขาว ฮอร์โมน ภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์ โรคไทรอยด์ การทานยาคุมกำเนิด การใช้ยารักษาโรคลมชัก Dilantin เป็นต้น

ฝ้าเกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังของเราสร้างเม็ดสีหรือเมลานิน (Melanin) มากเกินไป โดยมีรังสี UV ในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า กระ และจุดด่างดำ รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุและเพศ มักเริ่มพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30 – 40 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สีผิว ผู้ที่มีผิวเข้มจะมีโอกาสเกิดฝ้าได้ง่ายกว่าผู้ที่มีผิวขาว ฮอร์โมน ภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์ โรคไทรอยด์ การทานยาคุมกำเนิด การใช้ยารักษาโรคลมชัก Dilantin เป็นต้น

วิธีการรักษาฝ้า
การทาครีมกันแดด จัดเป็นหัวใจหลักที่สุดในการรักษาฝ้า โดยส่วนประกอบหลักของกันแดดต้องมี Iron oxide ป้องกันรังสียูวีจากแสงแดด ควรเลือกครีมกันแดดชนิดที่สะท้อนรังสี UV โดยมี SPF 50+ PA++++ นอกจากนี้ในปัจจุบันมีการใช้กันแดดแบบรับประทานด้วยเพื่อป้องกันแสงยูวีทั่วร่างกาย
การรักษาฝ้าด้วยยาทา จัดเป็นวิธีหลักสุดในการรักษาฝ้า การใช้ยาทาในรูปแบบครีม โลชั่น หรือเจล ซึ่งยารักษาฝ้าจะประกอบไปด้วยสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ช่วยลดการสร้างเมลานินใหม่ ที่ปลอดภัยและนำมาใช้ในปัจจุบัน เช่น Tretinoin ในอดีตมีการใช้ Hydroquinone และ Corticosteroids เพื่อลดรอยดำ แต่พบว่าการใช้ระยะยาวไม่ได้ช่วยลดฝ้าอย่างแท้จริง กรณี Hydroquinone หากหยุดใช้จะกลับมาเป็นใหม่และบางเคสเป็นมากขึ้นกว่าเดิมเรียกว่า Ochronosis อย่างไรก็ตาม Hydroquinone ยังสามารถใช้ได้ในปัจจุบัน แต่ต้องทาแต่ปริมาณน้อย เช่น สัปดาห์ละ 2 ครััง
ยารักษาฝ้าด้วยยาชนิดรับประทาน การรักษาด้วยยาหรือสารสกัดในรูปแบบรับประทานที่มีส่วนผสมของกรดทรานซามิค (Tranexamic acid) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานิน มักใช้รักษาฝ้าที่มีปัญหารุนแรง รวมถึงฝ้าเลือดเพราะยานี้ยับยั้งการหลั่ง endothelin ที่ทำให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ นอกจากนี้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระยังสามารถช่วยการเกิดฝ้าได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เช่น กลูตาไธโอน (Glutathione) สารสกัดจากเฟิร์น (Polypodium leucotomos) สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed extract) สกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศส (Pycnogenol®) เป็นต้น
การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling) ใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงกว่าครีมรักษาฝ้า โดยมีส่วนผสมของผสมกรดผลไม้ จะช่วยลดการเกิดฝ้าในผิวชั้นหนังกำพร้า เพราะ peel ที่เหมาะสมต้องลงลึกในผิวชั้นหนังกำพร้า และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะอาจเกิดผิวไหม้ได้ การรักษาวิธีนี้ใช้ได้ดีในฝ้าตื้น
Microneedling therapy มีการศึกษาพบว่าสามารถใช้เสริมกับยาทาฝ้า เพื่อให้ตัวยาทาซึ่งเป็นหัวใจหลักในการรักษาซึมเข้าสู่ใบหน้าได้ดีขึ้น
การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์ เป็นการรักษาโดยการยิงลำแสงหรือเลเซอร์บนจุดที่เกิดฝ้าและทำลายเม็ดสีที่ผิดปกติ สามารถปรับสภาพหรือรักษาความผิดปกติของสีผิวให้สม่ำเสมอมากขึ้น เช่น Q-Switch Nd-Yag Laser, Picosecond Laser และ IPL จัดเป็นวิธีเสริมในการรักษาฝ้าที่ควรทำเพิ่มเติม แต่ในระยะยาวต้องเฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำ
การฉีดสารช่วยลดรอยฝ้า สารที่ใช้ลดรอยฝ้ามีการนำมาใช้ในรูปแบบฉีด เช่น transamine, Arbutin และอื่นๆ สามารถนำมาฉีดลดรอยฝ้าให้จางได้ ซึ่งการฉีดสามารถลงถึงชั้นหนังแท้ได้มากขึ้น ทั้งนี้ควรฉีดอย่างต่อเนื่องทุก 1-2 สัปดาห์
การรักษาฝ้าควรทำการรักษาหลายวิธีร่วมกัน และใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดฝ้าซ้ำและเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น